การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครู เรื่อง การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรีลักษณ์
รัตนาพันธ์
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)
สำรวจความต้องการความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครู เรื่อง
การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ 3) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง
การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครู
เรื่อง การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
รูปแบบการวิจัยเป็นแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจความต้องการความรู้ด้านการจัดการศึกษาพิเศษเป็นครู
จำนวน 86 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมเป็นครู จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกอบรมทางไกล
เรื่อง การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ 2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ
3) แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1.ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่ครูต้องการ
คือ
การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
บกพร่องทางสติปัญญา ออทิสติก บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ และการวิจัยทางการศึกษาพิเศษ
2. ชุดฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย
1) เอกสารชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครู เรื่อง
การจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และ2) คู่มือการใช้ชุดฝึกอบรม
ในเอกสารชุดฝึกอบรมประกอบด้วย ชื่อชุดฝึกอบรมทางไกล โครงสร้างเนื้อหา แนวคิด วัตถุประสงค์
เนื้อหา และกิจกรรมหลังการศึกษาชุดฝึกอบรมทางไกล มีเนื้อหา 2
ตอนคือ 1
การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ตอนที่ 2 การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ สำหรับคู่มือการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกล ประกอบด้วย
คำอธิบายชุดฝึกอบรม วัตถุประสงค์
คำชี้แจงการใช้ชุดฝึกอบรม กำหนดการฝึกอบรม
และการประเมินผลที่ใช้ในการอบรม โดยชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ
79.50/81.35
3. ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้ชุดฝึกอบรมพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทดสอบความรู้หลังการใช้ชุดฝึกอบรม
สูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ ชุดฝึกอบรม
ครู ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
...............................................................................
Development
of Distance Training Packages for Teachers on Education Providing for Learner with
Special Needs
Jareeluk Ratanaphan, Ph.D., Assistant professor
School of Educational Study,
Sukhothai Thammatirat Open University, Thailand
The purposes of this research were; 1. to survey
the teacher’s needs on education providing for learner with special needs 2. to
develop a distance training packages for teacher on education providing for
learner with special needs 3. to compare trainee’s achievement before and after
using the packages 4. to study the
effects of using the packages on trainee’s opinion on the distance training
packages.
The design of the experiment was
research and development. The research sample for survey were 86 teachers, and
22 teachers for study the effects of using the packages on achievement and
opinion. The research instrument comprised: 1) training packages for teachers on education providing
for learner with special needs 2) achievement test 3) questionnaire. Mean, percentage,
standard deviation, t-test and content analysis were used for data analysis.
The
findings of the research were as follows:
1. The teacher’s needs on knowledge about
teaching for learner with learning disability, mental retardation, autism,
physical and health impairment and research in special education.
2. The package composed of special
education management for special needs student document and manual of distance
training packages. The document
consisted by name of packages, explanation for educator, content’s structure,
concept, objectives, content and activities. Manual of distance training
packages consisted by explanation about document, objectives, explanation about
using the package, training schedule, and evaluation. The efficiency of
packages was established at 79.50/81.35.
3. The post test average
scores of trainee’s achievement were higher than pretest.
4. The trainee’s opinion on
the package was at the highest level.
Keywords;
training package, teacher, learner with special needs
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น